JPost In Jerusalem ข่าวส่งตรงจากเยรูซาเล็มทุกวัน

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไซออนิสต์ (Zionist)




"ลัทธิไซออนิสต"์ หรือ "องค์การไซออนิสต์ (Zionist)" ยุคใหม่ ก่อตั้งโดยนายธีโอดอร์ เฮอร์เซิล (Theodor Herzl: เกิดที่บูดาเปส ปี ค.ศ.1860 แล้วย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ในปี ค.ศ.1895 เสียชีวิตในเมือง โอลาค เมื่อ 2 ก.ค. 1904 ศพ ของเขาถูกย้ายไปยังปาเลสไตน์และฝังที่นั่น) ด้วยเจตนาที่จะรื้อฟื้นสิ่งที่พวกเขาคิดว่า เป็นแผ่นดินที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้เป็นการเฉพาะแก่พวกยิว (แผ่นดินแห่งพันธสัญญา)


เพื่อสานต่อแนวคิดไซออนิสต์ในอดีต เฮอร์เซิล จุดประกายความฝันให้กับชาวยิวทั้งโลกด้วยหนังสือชื่อว่า “Der Judenstaat” หรือ “The Jewish State” ที่ฉายภาพ “รัฐยิว” ในจินตนาการให้คนยิวและชาวโลกได้เห็น สิ่งที่เขาเน้นในหนังสือเล่มนี้คือ ชาวยิวจะต้องรับโทษประหัตประหารหรือตามเข่นฆ่าอยู่เสมอ ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้มีประโยชน์ต่อประเทศชาติที่เขาอาศัยอยู่เพียงใดก็ตาม นอกเสียจากว่าชาวยิวจะมีประเทศเป็นของตนเอง ภาพร่างการก่อกำเนิดประเทศยิวของเฮอร์เซิล คือ รวบรวมและอพยพชาวยิวไปยังดินแดนหนึ่ง และทำสัญญากับมหาอำนาจในยุโรปเพื่อประกันสิทธิในดินแดนนั้น รวมทั้งต้องมีองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการอพยพ และตั้งถิ่นฐานใหม่นี้ด้วย และองค์กรที่ว่านี้คือ “ไซออนิสต์” นั่นเอง


การขับเคลื่อนองค์กรของลัทธิไซออนิสต์ ในการไปสู่จุดหมายตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ขั้นตอนนั้นจะต้องสร้าง “คน” โดยการคัดเลือกกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพดีที่สุด เข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพมากที่สุด ส่งเสริมกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพการศึกษาดีที่สุด เข้าสู่กระบวนการอุดมศึกษาที่ดีที่สุดในโลก (ฮาวาร์ด, เคม บริดจ์, ออกซ์ฟอร์ด , เอ็มไอที ฯลฯ) สนับสนุนและส่งเสริมกลุ่มเยาวชนยิวที่มีคุณภาพเหล่านี้เข้าทำงานในหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเมืองและเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและอเมริกา และของโลก (UN, FBI, CIA ฯลฯ)
ไซออนิสต์ มีสมาคมและองค์กรทั้งลับและไม่ลับอีกเป็นจำนวนมากทั้งในยุโรปและอเมริกา และตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก (สโมสรไลออนส์, สโมสรโรตารี่) ปฏิบัติงานในทุก ๆ ด้าน


ว่ากันว่า หากจะทำความเข้าใจถึงรากเหง้าของการก่อตั้งรัฐอิสราเอล ก็คงจะต้องศึกษาแนวคิดและอุดมการณ์ของขบวนการยิวไซออนิตส์ (Zionism)

เพราะหากปราศจากขบวนการนี้ชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ตามดินแดนและภูมิภาค ต่างๆ ทั่วโลกเมื่อครั้นอดีต ก็คงไม่สามารถเข้ามารวมตัวกันจัดตั้งรัฐยิวในดินแดนปาเลสไตน์ได้

นอกจากนั้น การศึกษาถึงพัฒนาการแนวคิดของขบวนการยิวไซออนิสต์ยังจะช่วยให้เราเข้าใจถึง การรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมืองต่างๆ ที่แสดงบทบาทโดดเด่นอยู่ในอิสราเอลและปาเลสไตน์อย่างที่เราเห็นกันใน ปัจจุบัน

ไซออนิสต์เป็นขบวนการของชาวยิวยุโรปที่ก่อตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ ที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมของชนชั้น กระฎุมพี ขึ้นมามีอำนาจแทนที่ระบบเศรษฐกิจของชนชั้นศักดินา (Feudal) ในยุโรป และเป็นช่วงที่ระบบทางการเมืองและสังคมของพวกศักดินาถูกแทนที่ในยุโรปด้วย ระบบรัฐ-ชาติ

จากภาวะความสับสนที่เกิดขึ้นในยุโรปและการถูกทำลายของระบบศักดินา ทำให้ตำแหน่งแห่งที่ตั้งเดิมของชุมชนชาวยิวค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยถูกกีดกันทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็กลายเป็นกลุ่มคนที่มีเสรีภาพ ทำให้ชาวยิวมีความมั่งคั่ง และมีบทบาทอิทธิพลในสังคมยุโรปมากขึ้น

โดยผลสะท้อนที่เกิดตามมาคือการก่อกำเนิดของขบวนการยิวไซออนิสต์

ขบวนการไซออนิสต์ ในฐานะที่เป็นกรอบแนวคิดหรืออุดมการณ์นั้น ได้รับการตีความหมายในหลากหลายแง่มุม

สำหรับบางคน ไซออนิสต์คือการเรียกร้องความเป็นชาติของชาวยิวทั้งหมด

ฉะนั้น หากมองในมุมนี้ การเรียกร้องของไซออนิสต์ก็อาจมีความชอบธรรมอยู่บ้าง

แต่สำหรับอีกหลายๆ คนแล้ว อุดมการณ์ไซออนิสต์มีความสำคัญน้อยกว่าคุณค่าสากล (Universal value) ไม่ว่าคุณค่าเหล่านั้นจะได้มาจากศาสนายูดาห์ จากพวกมนุษยนิยมเสรี (liberal Humanism) หรือจากชนชั้นกรรมาชีพสากลก็ตาม

สำหรับพวกที่เชื่อในคุณค่าสากลของมนุษยชาติและชนชั้นกรรมาชีพสากลแล้ว ถือว่าผลกระทบของการกำเนิดขบวนการไซออนิสต์เป็นไปในทางลบต่อสังคมโลกมากกว่า

นับจากช่วงแรกๆ ของการก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์ (ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชาวยิวฝ่ายต่างๆ) พวกเขาก็มีเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือการส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานชาวยิวขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์

แต่ในรายละเอียดของเป้าหมายนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละฝ่าย ทั้งนี้เป็นเพราะไซออนิสต์ประกอบขึ้นจากพวกที่มีหลากหลายแนวคิด

บางคนเป็นพวก General หรือแนวเสรีนิยม ต่อต้านศาสนา

บางคนก็เป็นพวก Catastrophic หรือพวกที่ปฏิเสธที่จะขยายอาณาบริเวณของชาวยิวพลัดถิ่น (Jewish diaspora) หลังมีการก่อตั้งรัฐขึ้นแล้ว

นอกจากนั้น ยังมีพวกอื่นๆ อีกมาก เช่น พวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary) พวกปฏิวัติ (Revolutionary) พวกอัตถประโยชน์นิยม (Pragmatic) พวกจินตนิยม (Romantic) พวกการเมือง (Political Zionism) พวกสังคมนิยม (Socialist Zionism) พวกเมสิอาห์ (Messianic) พวกสังเคราะห์ (Synthetic Zionism) ฯลฯ

ในช่วงที่รัฐอิสราเอลก่อตั้งขึ้น กลุ่มอุดมการณ์ของไซออนิสต์ที่หลากหลายเหล่านี้ได้หลอมรวมเข้าด้วยกันเหลือ เพียงแค่ 4 อุดมการณ์หลักๆ ที่มีความแตกต่างกันไป โดยที่อุดมการณ์เหล่านี้ก็สามารถอยู่รอดมาได้มาจนถึงปัจจุบัน

ดังนี้

1.อุดมการณ์ของพวกเมสิอาห์ (Messiah) หรือพวกที่เชื่อใน ผู้ช่วยให้รอดพ้นจากทุกข์และนำเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้า พวกนี้ปรากฏขึ้นจากความเชื่อในการฟื้นคืนชีพของผู้ที่จะมาช่วยให้ชาวยิวรอด พ้นจากความทุกข์แห่งสหัสวรรษ และแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสของปี 1789 ซึ่งยังผลให้ชาวยิวในยุโรปมีเสรีภาพมากขึ้น จนทำให้ชาวยิวจำนวนไม่น้อยเริ่มถอยห่างออกจากศาสนา ถูกกลืนกลายจนบางคนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ก็มี

ชาวยิวหัวอนุรักษ์จึงได้พยายามต่อต้านการผสมกลืนกินโดยยืนกรานถึงความจำเป็น ที่ชาวยิวจะต้องกลับไปสู่ชุมชนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและคงความ บริสุทธิ์ในสายเลือดไว้ มิเช่นนั้นแล้วศาสนายูดาห์ก็คงไม่สามารถอยู่รอดได้ และประชาชาติยิวก็จะสูญเสียความบริสุทธิ์ผุดผ่องทางสายเลือดไป

แม้กระนั้นก็ตาม พวกเมสิอาห์ดั้งเดิมก็ปฏิเสธการอพยพย้ายถิ่นของชาวยิวไปอยู่ในปาเลสไตน์ เพราะพวกเขาเชื่อว่าประชาชาติยิวจะสามารถสร้างรัฐอิสราเอล (Eretz Israel) ขึ้นมาใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อมีตัวแทนของพระเจ้าในช่วงเวลาที่พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้วเท่านั้น

ชาวยิวบางคนถึงกับเดินทางไปอยู่ที่ปาเลสไตน์เพื่อตั้งตารอให้ถึงเหตุการณ์ ที่พระคัมภีร์ได้สัญญาเอาไว้ และมีความเชื่อว่า การมีส่วนร่วมของพวกเขาในการจัดตั้งรัฐอิสราเอลที่ภูเขาไซออน ถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการไถ่บาปของชาวยิว

พวกเมสิอาห์เน้นความสำคัญในเรื่องแผ่นดิน พระคัมภีร์ (โตราห์ หรือเตารอด) และกลุ่มชนดังที่รอบิ อิสาก คูก (Rabi isaq Kook) ได้กล่าวไว้ว่า ชาวยิวต้องการแผ่นดินเพื่อสถาปนาพวกเขากลับไปอีกครั้งสู่ความเป็นกลุ่มชน

2.อุดมการณ์ที่ 2 ซึ่งสามารถอยู่รอดมาได้ ปรากฏขึ้นในเกือบช่วงเลาเดียวกัน แต่เป็นไซออนิสต์เมสิอาห์ที่เน้นเรื่องจิตวิญญาณ (Messianic Spiritual Zionism) พวกเขาเชื่อในผู้ช่วยให้รอดพ้นจากทุกข์และนำเข้าสู่อาณาจักรของพระเจ้า เหมือนกัน แต่ค่อนข้างมีแนวคิดเสรีและเน้นเหตุผลมากกว่า

พวกเขาเชื่อว่า ภารกิจของประชาชนชาวยิวก็คือการส่งผ่านลักษณะพิเศษทางด้านจิตวิญญาณไปสู่ สังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ พวกเขาให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดกับคีมภีร์ และการสถาปนาปาเลสไตน์ให้เป็นชุมชนชาวยิวที่มีลักษณะทางศีลธรรมพิเศษเฉพาะ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางด้านจิตวิญญาณของชาวยิวพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ต่างแดนทั้ง หมด

นอกจากนั้น พวกเขายังเชื่อว่า ศาสดาท่านต่างๆ ได้สอนสั่งประชาชาติยิวให้เคารพอำนาจแห่งจิตวิญญาณ ไม่ใช่บูชาอำนาจทางวัตถุ ชาวยิวอยู่รอดมาได้ก็ด้วยชาตินิยมแห่งจิตวิญญาณของพวกเขา ซึ่งแตกต่างจากอุดมการณ์ชาตินิยมทั่วไปที่มนุษยชาติมักปฏิบัติกัน

อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยึดหลักแห่งความรอมชอม เช่น ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1920 พวกเขาได้จัดตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า Brit Shalom ซึ่งเป็นองค์กรที่เรียกร้องให้จำกัดการย้ายถิ่นและให้เจรจาแก้ปัญหาการตั้ง ถิ่นฐานของชาวยิวกับพวกอาหรับ

ในปี 1936 Brit Shalom ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่เรียกว่า กลุ่มอิฮุด (Ihud Group) โดยมีสมาชิกที่สำคัญคือ ดร.จูดาห์ เมกเนส (Judah Megnes) ซึ่งเป็นบิดาผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮิบรูแห่งเยรูซาเล็ม (Hebrew University) และนักปรัชญาอย่าง มาร์ติน บูเบอร์ (Martin Buber) พวกเขาได้นำเสนอร่างที่วางแผนให้มีการตั้งรัฐของสองเชื้อชาติ (bi-national state) ขึ้นในปาเลสไตน์

ภายหลังสงครามปี 1967 พวกไซออนิสต์ที่เน้นด้านจิตวิญญาณเหล่านี้มีความเห็นว่าดินแดนปาเลสไตน์จะ ต้องถูกแบ่งกันใหม่อีกครั้ง โดยที่ดินแดนอาหรับที่ถูกยึดครองหลังสงครามควรเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนเพื่อแลก สันติภาพกับโลกอาหรับ

จุดยืนดังกล่าวนี้ แตกต่างอย่างมากจากจุดยืนของพวกไซออนิสต์ดั้งเดิมที่ยึดมั่นอย่างแน่วแน่ว่า อำนาจอธิปไตยของรัฐยิวจะต้องขยายครอบคลุมดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด (บางทรรศนะบอกว่า คือดินแดนตั้งแต่กลุ่มแม่น้ำไนล์ไปจนถึงไทกริส-ยูเฟรติส)

3.อุดมการณ์ที่ 3 คือ ไซออนิสต์แรงงาน (Labour Zionism) และไซออนิสต์การเมือง (Poitical Zionism) ซึ่งได้เข้ามารวมตัวกัน อันเนื่องจากว่า ทั้งสองอุดมการณ์เป็นด้านที่แตกต่างของเหรียญเดียวกัน ในขณะที่ไซออนิสต์แรงงานมีแนวคิดสังคมนิยม แต่ไซออนิสต์การเมืองเน้นอุดมการณ์ชาตินิยมและประชาธิปไตย

ไซออนิสต์แรงงานได้ปูพื้นฐานให้มีการประยุกต์ใช้หลักการสังคมนิยมภายใต้ อาณานิคมของไซออนิสต์ในปาเลสไตน์ โดยเน้นถึงการทำให้โครงสร้างทางสังคมและอาชีพการงานของยิวกลับสู่สภาพปกติ ผ่านการพัฒนาของฐานชนชั้นกรรมาชีพของชาวยิว

ในระยะแรก พวกเขาค่อนข้างมีแนวคิดเสรีนิยมและเป็นสากล พวกเขาเชื่อในการรวมตัวระหว่างแรงงานชาวยิวกับขบวนการแรงงานที่มีอยู่ในยุโรป

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1881-82 (หรือเหตุการณ์ที่พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียเกิดความหวาดระแวงต่อการแพร่ขยาย แนวคิดสังคมนิยมของชาวยิว พระองค์จึงสร้างกระแสต่อต้านชาวยิว ก่อให้เกิดการอพยพลี้ภัยของชาวยิว และการตระหนักถึงความสำคัญที่ชาวยิวต้องมีดินแดนเป็นของตนเอง) ทำให้พวกไซออนิสต์แรงงานเปลี่ยนไปให้ความสนใจต่อดินแดนปาเลสไตน์มากขึ้น

แนวคิดนี้เข้มแข็งขึ้นจากงานเขียนของนายธีโอเดอร์ เฮอร์เซ็ล (Theodor Herzl) และแผนการทางการเมืองของเขา การประชุมไซออนิสต์สากลครั้งแรกในปี 1897 ได้ยอมรับแผนของเฮอร์เซ็ลที่จะสถาปนารัฐยิวขึ้น

หนึ่งในบรรดาวิธีการที่หลากหลายที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือแผนการ ส่งเสริมให้มีการตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวยิวขึ้นในปาเลสไตน์โดยพวกเกษตรกร พวกแรงงาน และพวกช่างฝีมือชาวยิว ซึ่งทั้งหมดเป็นฐานมวลชนของไซออนิสต์แรงงาน และเป้าหมายของพวกเขาก็บรรลุผลสำเร็จจากการก่อตั้งรัฐยิวขึ้นในดินแดน ปาเลสไตน์

4.อุดมการณ์ที่ 4 คือพวกไซออนิสต์ ที่ยึดหลักการเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Revisionist) อุดมการณ์นี้เกิดขึ้นจากความขัดแย้งด้านกลยุทธ์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นในปี 1922 เมื่ออังกฤษได้จัดตั้งรัฐทรานซ์จอร์แดนขึ้นมา ทั้งนี้ พวกไซออนิสต์ถือว่าดินแดนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอลที่จะมีการจัด ตั้งขึ้นในอนาคต การเกิดขึ้นของรัฐทรานซ์จอร์แดนจึงทำให้ผู้นำไซออนิสต์อย่างไชม์ ไวซแมนน์ (Chaim Weizmann) และเดวิด เบน กูเรี่ยน (David Ben-Gurion) ต่างยอมรับถึงความผิดพลาดหรือความถดถอยชั่วคราว เพราะทำให้ไซออนิสต์ไม่สามารถสร้างรัฐยิวได้ในทุกๆ ดินแดนที่ได้รับการสัญญาไว้ (ในคัมภีร์)

ความผิดพลาดดังกล่าวนี้ได้นำไปสู่การเผชิญหน้ากับผู้นำไซออนิสต์อีกคนที่ใช้ นโยบายประชานิยมอย่างวลาดิมีร์ จาโบตินสกี้ (Vladimir Jabotinsky)

จาโบตินสกี้เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงการที่ได้รับการยอมรับจาก ที่ประชุมไซออนิสต์สากลเสียใหม่ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงถูกเรียกว่าพวก Revisionist ที่เรียกร้องให้หน่วยงานของยิวประกาศอย่างเป็นทางการว่า เป้าหมายของพวกเขาคือการสร้างรัฐและต่อต้านอังกฤษโดยการใช้กำลังและการก่อ การร้าย

พวก Revisionist ยึดมั่นในภารกิจที่จะป้องกันไม่ให้ไซออนิสต์เบี่ยงเบนเส้นทางออกจากเป้าหมาย ดั้งเดิมของการจัดตั้งรัฐยิวที่ครอบคลุมดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐอิสราเอลได้ถูกสถาปนาขึ้น อุดมการณ์ทั้ง 4 ดังกล่าวของไซออนิสต์ก็หลอมรวมอยู่ในสองขั้วการเมือง โดยที่ 3 อุดมการณ์แรกได้เข้ามาหลอมรวมอยู่ในหนึ่งขั้วการเมือง ซึ่งเป็นขั้วที่ครองอำนาจปกครองประเทศนับตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทศวรรษที่ 1970 ส่วนอีกหนึ่งอุดมการณ์ที่เหลือหรือพวก Revisionist ก็เป็นอีกขั้วการเมืองหนึ่งที่ไม่มีอำนาจมากนักในอดีต

แต่สถานการณ์ก็เปลี่ยนไปเมื่อแบบแผนการอพยพย้ายถิ่นของชาวยิว (Aliyah) เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ มียิวตะวันออกจากประเทศอาหรับอพยพเข้ามามากขึ้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านความสมดุลทางชาติพันธุ์ภายในสังคม ผู้อพยพชาวยิวรุ่นใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศตะวันออกและมีอุดมการณ์ความเชื่อแบบเมสิอาห์ จึงค่อยๆ ทอดทิ้งกลุ่มอุดมการณ์แรงงาน แล้วหันไปให้การสนับสนุนพวก Revisionist ซึ่งมีหลักการเรื่องการครอบครองดินแดนปาเลสไตน์คล้ายคลึงกับพวกเขา

ฉะนั้น ขั้วทางการเมืองก็ยังคงมีอยู่ 2 ขั้วเหมือนเดิม เพียงแต่มีการแบ่งกลุ่มอุดมการณ์ไปเท่าๆ กัน ขั้วหนึ่งคือขั้วของพวกแรงงานและพวกจิตวิญญาณ อันเป็นต้นกำเนิดของพรรคแรงงานของอิสราเอลที่มีท่าทีรอมชอมต่อประเด็นปัญหา ปาเลสไตน์อยู่บ้าง

ส่วนอีกขั้วหนึ่งคือพวก Revisionist และเมสิอาห์นั้น เป็นต้นกำเนิดของพรรคฝ่ายขวา ลิคุต ที่ชูนโยบายแข็งกร้าว ไม่ยอมอ่อนข้อให้ชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย

JPost Israel ข่าวส่งตรงจากอิสราเอลทุกวัน