JPost In Jerusalem ข่าวส่งตรงจากเยรูซาเล็มทุกวัน

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัสถาปณาชาติอิสราเอล

อิสราเอล นั้น เป็นที่ที่รู้ดีอยู่แล้วว่า เป็นนครรัฐเอกราชที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อเรียกร้องการกลับมาของ ประชาชาติยิว ในทุกดินแดนบนโลกนี้การอ้างสิทธิในการจัดตั้งรัฐยิวนั้น ต้องย้อนกลับเมื่อปี คศ.1897 ซึ่งเป็นปีที่มีการประชุม ของ สภานิยมยิว ( World Zionist Congress ) เป็นครั้งแรก โดยการเรียกร้องของ ธีโอดอร์ แฮร์ซล ด้วยการพิมพ์หนังสือปลุกใจ ที่มีคุณค่าในการโน้มนำ และสร้างกระแสให้เกิดขึ้นในหมู่ ยิว ทั่วโลก หนังสือที่ว่า คือ รัฐยิว หรือ ( The Jewish State) ความจริงแล้วในช่วงนั้น ดินแดนที่ยิวหวังจะกลับมาอีกครั้ง หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า ปาเลสไตน์ นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของ จักรวรรดิออตโตมาน ซึ่งเป็น รัฐจักรวรรดิอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในโลกเวลานั้น ในตอนนั้น ปาเลสไตน์ ประกอบด้วย อาหรับประมาณ 1 ล้านคน ในขณะที่ ยิวมีเพียง 5 หมื่นคนความน่าประหลาดใจอยู่ตรงที่ ในเวลานั้นไม่มีเสียงคัดค้านต่อข้อข้อเสนอของ ธีโอดอร์ แฮร์ซล จากคนอาหรับแม้แต่คนเดียว แม้กระทั่ง สุลต่านแห่งออตโตมานในเวลานั้นก็ยังให้การตอนรับ ธีโอดอร์ แฮร์ซล อย่างดี และนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุม แม้ว่าผลการประชุมครั้งนั้นจะออกมากับคำตอบของการฏิเสธต่อข้อเสนอของ ธีโอดอร์ แฮร์ซล ก็ตามหากแต่ว่าท่าที ที่อ่อนน้อมและการต้อนรับอย่างสุภาพ กลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง กับเหตุการณ์ในปัจจุบัน !!!นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ชาติมุสลิม ปฏิบัติ ต่อยิว ในสิ่งที่ตรงข้ามกับอุดมการณ์การต่อต้านยิว ในหมู่มุสลิมด้วยกันเองเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้น การตอบสนองต่อคำเรียกร้องของ แฮร์ซล ก็กลายเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อ ยิว ในส่วนต่างๆ ของยุโรป ได้อพยพครอบครัวเข้ามาอยู่ในปาเลสไตน์ นับหมื่นๆ คน ในปี คศ.1914 ด้วยความช่วยเหลือของมหาเศรษฐี และ องค์กรทั้งหลายของยิว ทำให้ยิว สามารถซื้อที่ดินในปาเลสไตน์ได้ถึง 100,000 เอเคอร์ ( 1 เอเคอร์ ประมาณ 2.5 ไร่ ) หรือประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร ( เล็กกว่าเกาะภูเก็ตนิดนึง) จำนวนยิวที่อพยพเข้าไปอยู่ที่นั่นประมาณ 6 หมื่นคนนี่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกอีกประการ ที่บรรดาอาหรับทั้งหลาย ยินยอมขายที่ดินเหล่านี้ให้กับยิว ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า ยิวจะซื้อไปทำอะไร !!!หากจะมองในอีกแง่หนึ่งแล้ว การที่ตุรกี (หรือ จักรวรรดิออตโตมาน) ตัดสินใจเข้าร่วมกับเยอรมันรบกับอังกฤษ ก็คงเป็นความผิดพลาดด้วยอีกประการหนึ่ง เพราะผลการรบในครั้งนั้นปรากฏว่า อังกฤษได้รับชัยชนะในสงครามโลก และทำให้จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายลงโดยสิ้นเชิง ปาเลสไตน์ซึ่งอยู่ในความปกครองของ ออตโตมาน มาตลอดจึงได้ตกไปอยู่ในมือของอังกฤษอังกฤษได้ประกาศสนธิสัญญาฉบับหนึ่งขึ้นมาในเวลานั้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอังกฤษในเดือนตุลาคม 1917 ต่อมาพันธมิตรของอังกฤษก็ได้ให้การยอมรับ และถูกนำเข้าไปรวมกับ ข้อบัญญัติว่าด้วยรัฐอารักขาของสันนิบาตชาติเหนือปาเลสไตน์ของอังกฤษในปี คศ. 1922 คำประกาศนี้ ชื่อว่า "คำประกาศบัลโฟร์" (Balfour Declaration) ซึ่งเขียนขึ้นโดย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษ คือ ลอร์ด อาเธอร์ เจ บัลโฟร์ ... เนื้อความสำคัญของประกาศก็คือ“รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (หมายถึง กษัตริย์อังกฤษในเวลานั้น - ผู้เขียน) พิจารณาด้วยความเห็นชอบ ในการตั้งถิ่นฐานสำหรับพวกยิวขึ้นแห่งหนึ่งในประเทศปาเลสไตน์ และจะใช้ความพยายามจนสุดความสามารถที่จะอำนวยความสะดวกต่อการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ข้อนี้ เป็นที่เข้าใจอย่างแจ้งชัดว่า จะไม่มีการปฏิบัติการใด ๆ อันเป็นผลร้ายต่อสิทธิพลเรือนและการนับถือศาสนา ของหมู่ชนที่มิใช่ชาวยิวในประเทศปาเลสไตน์ หรือสิทธิและสถานภาพทางการเมืองที่พวกยิวได้รับในประเทศอื่น” 1ที่มาของ คำประกาศข้างต้นนั้น ความมีอยู่ว่า เมื่อราว ๆ ปี 1915 มีการติดต่อกันทางจดหมายระหว่าง เซอร์ เฮนรี่ เมคมาฮอน (Sir Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ กับ ชารีฟ ฮุสเซน (Sharif Hussein) ผู้ครองแคว้นฮิญาชและเป็นตัวแทนของชาวอาหรับทั้งผอง ข้อใหญ่ใจความของจดหมายระบุว่า เมคมาฮอนพยายามเกลี่ยกล่อมให้ชาวอาหรับสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร สู้รบกับฝ่ายมหาอำนาจอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสัญญาจะให้เอกราชแก่ชาวอาหรับในทุก ๆ ดินแดนหลังจากสงครามยุติลง รวมถึงปาเลสไตน์ด้วย ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงได้ลงนามในข้อตกลงแองโกล-อาหรับในฤดูใบไม้ร่วงปี 1915 นั่นเอง คำสัญญาดังกล่าวทำให้ ชารีฟ ฮุสเซน เข้าร่วมรบกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ชาวอาหรับจากซีเรีย เลบานอน และปาเลสไตน์ ก็เข้าร่วมลุกฮือขึ้นก่อกบฎต่อต้านอาณาจักรออตโตมานที่ประกาศเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายอักษะ ชาวอาหรับยินดีต้อนรับกองทัพอังกฤษที่เข้ามาในปาเลสไตน์ เปรียบทหารอังกฤษเหล่านั้นเป็นเสมือนผู้มาปลดปล่อยให้พวกเขามีอิสรภาพ หลังจากต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของตุรกีมานานเกือบ 500 ปี แต่แล้วชาวอาหรับก็ถูกหักหลัง เพราะไม่เพียงแต่อังกฤษจะไม่รักษาคำมั่นสัญญาเท่านั้น แต่ยังไปสนับสนุนองค์กรยิวไซออนิสต์ให้จัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับชาวอาหรับเจ้าของดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น อีกทั้งยังออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวยิวได้อพยพเข้ามาในแผ่นดินปาเลสไตน์แบบไม่จำกัดจำนวน ในเวลานั้น ประชากรของประเทศปาเลสไตน์ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 700,000 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 หรือประมาณ 600,000 คนเป็นชาวอาหรับมุสลิม ซึ่งครอบครองดินแดนถึงร้อยละ 90 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัยของชาวยิว ซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ 70,000 คน พอมาถึงปี1947 ที่รัฐยิวถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่า ประชากรยิวเพิ่มขึ้นถึง 600,000 คน ซึ่งนับเป็น 1 ใน 3 ของประชากรในดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด หรือมีการเพิ่มขึ้นของประชากรยิวถึงร้อยละ 725 เลยทีเดียว สัดส่วนของการครอบครองที่ดินก็เปลี่ยนไปมาก อันนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อชุมชนอาหรับท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายขององค์กรยิวไซออนิสต์ ที่ปฏิเสธการจ้างงานชาวอาหรับปาเลสไตน์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

JPost Israel ข่าวส่งตรงจากอิสราเอลทุกวัน