JPost In Jerusalem ข่าวส่งตรงจากเยรูซาเล็มทุกวัน

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เศรษฐกิจและการค้า

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 162 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)รายได้ประชาชาติต่อหัว 22,600 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2550)การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 5.3 (ปี 2550)อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.5(ปี 2550)อุตสาหกรรม เทคโนโลยีระดับสูง ผลิตภัณฑ์ไม้และกระดาษ โปแตซและฟอสเฟต อาหาร เครื่องดื่ม ยาสูบ ซีเมนต์ การก่อสร้าง โลหะและเคมีภัณฑ์ พลาสติก การเจียระไนเพชร เสื้อผ้าและรองเท้าทรัพยากรธรรมชาติ โปแตซ โบรมีน และเกลือแร่จาก Dead Seaสินค้านำเข้าสำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภคสินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า ตลาดนำเข้าสำคัญ สหรัฐฯ เบลเยียม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักรตลาดส่งออกสำคัญ สหรัฐฯ เบลเยียม ฮ่องกงระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคงทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.5 (ปี 2550)อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 7.6 (ปี 2550)สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้าสินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภคประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง - ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร- ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐอิสราเอลความสัมพันธ์ทั่วไปความสัมพันธ์ด้านการเมืองไทยและอิสราเอลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2497 โดย อิสราเอลได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2500 และไทยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ เมื่อเดือนมกราคม 2539 โดยมีนายรณรงค์ นพคุณ ดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ คนแรก นอกจากนี้ ไทยยังได้จัดตั้งสำนักงานที่ปรึกษาการพาณิชย์ที่กรุงเทลอาวีฟ ตั้งแต่ปี 2531 และสำนักแรงงานไทยในอิสราเอล ตั้งแต่ปี 2540 ทั้งนี้ ไทยมีกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำกรุงเทลอาวีฟ คือนาย Eddy S. Strod ตั้งแต่ปี 2535 และกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ประจำเมืองไฮฟา คือ นาย Joseph Gillor ในปีเดียวกันไทยและอิสราเอลมีความสัมพันธ์ทวิภาคีและความร่วมมืออันดีต่อกัน และมีกรอบการหารือทวิภาคีในลักษณะ Working Group Dialogue ในระดับอธิบดีของกระทรวงการต่างประเทศ ล่าสุด ทั้งสองฝ่ายมีการประชุมร่วมครั้งที่ 4 ที่กรุงเทพฯ เมื่อ 17 พฤษภาคม 2549 โดยได้หารือในประเด็นที่เกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า ความร่วมมือทางวิชาการและเทคโนโลยี องค์การระหว่างประเทศ และแรงงานไทยในอิสราเอลความสัมพันธ์ด้านการเศรษฐกิจมูลค่าการค้าระหว่างไทย-อิสราเอลยังอยู่ในอัตราที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการค้ากับประเทศต่างๆ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ในปี 2550 ปริมาณการค้าของไทยกับอิสราเอล มีมูลค่า 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าไปอิสราเอล มูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าสินค้าจากอิสราเอล มูลค่า 520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าถึง 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่ไทยส่งออกไปอิสราเอลที่สำคัญ ได้แก่ 1) อัญมณีและเครื่องประดับ 2) เม็ดพลาสติก 3) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ 4) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 5) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 6) ข้าว 7) คอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 8) ผลไม้กระป๋อง 9) ผลิตภัณฑ์ยาง 10) เส้นใยประดิษฐ์ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอิสราเอลที่สำคัญ ได้แก่ 1) เครื่องเพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 2) ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 3) แผงวงจรไฟฟ้า 4) เคมีภัณฑ์ 5) เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการทดสอบ 6) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 7) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 8) ด้ายและเส้นด้าย 9) ธุรกรรมพิเศษ 10) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมการท่องเที่ยว ในปี 2550 มีนักท่องเที่ยวอิสราเอลมาไทยประมาณ 130,000 คน และคนไทยไปอิสราเอล 9,915 คนแรงงาน- ปัจจุบัน แรงงานไทยในอิสราเอลมีประมาณ 26,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภาคเกษตรและการบริการร้านอาหารและโรงแรมประมาณ 1,000 คน โดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับการทำงานเต็มเวลา 186 ชั่วโมงต่อเดือน คือ 3,335.18 เชคเกล อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อการทำงานเป็นรายชั่วโมงคือชั่วโมงละ 17.93 เชคเกล และอัตราค่าจ้างล่วงเวลาซึ่งตามกฎหมายลูกจ้างที่ทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาในชั่วโมงที่ 9 เป็นต้นไป โดย 2 ชั่วโมงแรกที่เกินชั่วโมงทำงานปกติจะได้รับค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 125% ของค่าจ้างปกติ ส่วนชั่วโมงที่ 3 เป็นต้นไป จะได้รับค่าล่วงเวลาชั่วโมงละ 150% ของค่าจ้างปกติ สำหรับงานบ้านหรือทำงานดูแลนายจ้าง และอาศัยอยู่ในบ้านของนายจ้าง ซึ่งมีการทำงานเกินชั่วโมงทำงานปกติ ศาลแรงงานแห่งชาติอิสราเอลได้มีคำพิพากษาให้คำนวณค่าล่วงเวลาโดยคิดรวมเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 ของค่าจ้างปกติ โดยที่ผ่านมาปัญหาที่มักเกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาค่านายหน้าในการจัดหางานที่สูง (170,000-330,000 บาท) และการไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายและค่าจ้างล่วงเวลา ซึ่งการดูแลคุ้มครองค่อนข้างลำบากเพราะแรงงานไทยกระจายทำงานใน Kibbutz (คิบบุตซ์ หรือหมู่บ้านฟาร์ม) รายย่อยๆ ทั่วไป- กระทรวงการต่างประเทศได้หยิบยกปัญหาเหล่านี้กับฝ่ายอิสราเอลบ่อยครั้ง และพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาค่านายหน้าในการจัดหางานที่สูง เมื่อเดือนมิถุนายน 2548 รัฐบาลอิสราเอลได้ตัดสินใจที่จะดำเนินแผนความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration – IOM) เพื่อยุติการเอารัดเอาเปรียบแรงงานต่างชาติในอิสราเอล เพื่อลดข้อครหาและปรับปรุงภาพลักษณ์ของอิสราเอลด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนคนต่างด้าว โดยขอให้ IOM วางแผนการจัดจ้างแรงงานไทยที่ไปรับจ้างในสาขาเกษตรกรรม เพื่อให้ IOM สามารถควบคุมดูแลการจัดจ้างแรงงานโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประกันว่าแรงงานไทยจะไม่ถูกบังคับให้จ่ายค่านายหน้าในการจัดหางานเพื่อไปทำงานในอิสราเอลที่สูงมากและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อมีการนำระบบดังกล่าวมาใช้แล้ว แรงงานที่มีการจัดจ้างภายใต้การสนับสนุนจาก IOM เท่านั้น จึงจะได้รับการอนุญาตให้เข้าทำงานในอิสราเอลในฐานะแรงงานเกษตร - อนึ่ง เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ฝ่ายอิสราเอลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม การค้าและแรงงาน ได้เดินทางเยือนไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานกับ IOM และล่าสุด ได้มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2550 โดยเป็นการลงนามระหว่างอธิบดีกรมการจัดหางานและผู้แทนจาก IOMความตกลงที่สำคัญๆกับไทย2.1 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความตกลงเกี่ยวกับการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการไทย-อิสราเอล ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 25032.2 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐอิสราเอล ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2511 และได้แลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐอิสราเอล ลงนามที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 เมษายน – 28 พฤษภาคม 25422.3 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในอนุสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีที่เก็บจากเงินได้ (Convention between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Israel for the Avoidance of Double Taxation and the Prevention of Fiscal Evasion with Respect to Taxes on Income) ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2539 ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2539 หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารระหว่างกัน2.4 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตาม คำพิพากษาในคดีอาญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอล (Treaty on Cooperation in the Execution of Penal Sentences between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Israel) ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่13 สิงหาคม 2540 ซึ่งสนธิสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2541 2.5 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทน (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Israel for the Reciprocal Promotion and Protection of Investments) ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543 2.6 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและ รัฐอิสราเอลเกี่ยวกับการจัดทำแปลงสาธิตการเกษตรไทย-อิสราเอลสำหรับการปลูกพืชมูลค่าสูงแบบอาศัยชลประทานบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 25452.7 ไทยและอิสราเอลได้ลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยความร่วมมือในสาขาวัฒนธรรมและการศึกษา (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the State of Israel on Cooperation in the Fields of Culture and Education) ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

JPost Israel ข่าวส่งตรงจากอิสราเอลทุกวัน